สัมภาษณ์โครงการ Best Practice การเรียนรู้และพัฒนาตนเองผ่านโครงการเพื่อชุมชน PBL : โครงการเพิ่มรายได้โดยการเพาะเห็ดนางฟ้าและแปรรูปเห็ดนางฟ้าแบบปลอดสารพิษ

โครงการเด่น โครงการเพิ่มรายได้โดยการเพาะเห็ดนางฟ้าและแปรรูปเห็ดนางฟ้าแบบปลอดสารพิษ

โดยกลุ่มเยาวชนลูกลิงหัวกาหมิง ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล


ชื่อเรื่อง : แปรรูปเห็ดนางฟ้าสู่การพัฒนาทักษะความกล้าของเยาวชนบ้านหัวกาหมิง


ว่าด้วยเรื่องเห็ดที่ไม่ได้แค่เรียนรู้การเพาะเห็ดและการแปรรูปเห็ด แต่คือเครื่องมือที่ทำให้เด็กกลุ่มหนึ่งเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากเด็กขี้อาย กลัวไมค์ เห็นไมค์แล้วร้องไห้ กลายเป็นคนกล้าพูด กล้านำเสนอ และสามารถนำสิ่งที่ได้จากการทำโครงการไปปรับใช้ในห้องเรียน คือสิ่งที่กลุ่มเยาวชนจากบ้านลูกลิงหัวกาหมิง ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ Satun Active Citizen หรือ โครงการกลไกชุมชนสู่การพัฒนาเยาวชนจังหวัดสตูล ในปีที่ผ่านมา

ต้า - ซานิตา หลังการณ์, ตาต้า - นูรีต้า บัญชะ และ หนูนา - อัสรีนา หาสกุล ตัวแทนเยาวชนจากโครงการเพิ่มรายได้โดยเพาะเห็ดนางฟ้าและแปรรูปเห็ดนางฟ้าแบบปลอดสารพิษ มาร่วมถ่ายทอดสิ่งที่พวกเธอได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมโครงการ

ซานิตา นูรีต้าและหนูนา อดีตสาวขี้อายที่ครั้งนี้มานั่งเล่าย้อนวันวานถึงประสบการณ์จากการที่ได้เรียนรู้ แม้ยังมีความอายอยู่บ้างตามประสาเมื่อต้องคุยกับคนแปลกหน้า แต่พวกเธอบอกว่าดีขึ้นกว่าช่วงแรก ๆ ก่อนเข้ามาทำโครงการมาก ทั้งสามคน เล่าว่า ครั้งแรกที่ได้นำเสนอโครงการในที่สาธารณะพวกเธอปล่อยโฮกลางวงนำเสนอ เพราะเป็นครั้งแรกที่ต้องจับไมค์พูด ความตื่นเต้นและความกลัวในวันนั้นยากเกินควบคุม แต่วันนี้พวกเธอมีความมั่นใจมากขึ้น

สำหรับจุดเริ่มต้นของโครงการเพิ่มรายได้โดยการเพาะเห็ดนางฟ้าและแปรรูปเห็ดนางฟ้าแบบปลอดสารพิษ เกิดขึ้นจากความสนใจของสมาชิกภายในทีม กลุ่มเยาวชนเล่าว่า ราคาผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนบ้านหัวกาหมิงตกต่ำ มีคนในชุมชนจำนวนหนึ่งเพาะเห็ดนางฟ้าขายได้ราคาค่อนข้างดี อยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 60-70 บาท พวกเธอจึงอยากศึกษาเพื่อนำความรู้เรื่องเห็ดมาขยายผลต่อเป็นทางเลือกให้กับคนในชุมชน ดังนั้น เป้าหมายของการทำโครงการในครั้งนี้ คือ การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะเห็ด การแปรรูป รวมถึงเรื่องของการตลาด แต่ก่อนนำข้อมูลและวิธีการที่ได้ศึกษาออกไปเผยแพร่ กลุ่มเยาวชนได้ทดลองเพาะและแปรรูปเห็ดด้วยตัวเอง จนได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ และแน่นอนว่าสร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเอง


++ เห็ดนางฟ้า...ท้าความกล้า++

หากเอ่ยถึงพื้นฐานความรู้และทักษะ “การเพาะเห็ดและการแปรรูปเห็ดนางฟ้า” มีเพียงหนูนา เพียงคนเดียวเท่านั้นในทีมที่พอทำได้ เนื่องจากพ่อและแม่ของเธอเพาะเห็ดขายอยู่แล้ว กลุ่มแกนนำเยาวชนจึงออกแบบกิจกรรมนำไปสู่การเพาะเห็ดนางฟ้า ด้วยการลงพื้นที่ศึกษาเรื่องการเพาะเห็ดจากผู้รู้ 5 ครัวเรือนในตำบลทุ่งนุ้ย แล้วนำมารวบรวมเป็นข้อมูลพื้นฐานเรื่องแนวทางการเพาะเห็ดของโครงการ

กลุ่มเยาวชนประชุมแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบก่อนลงพื้นที่เก็บข้อมูล หนูนารับหน้าที่ถ่ายภาพ ซานิต้ารับหน้าที่สัมภาษณ์ผู้รู้ และนูรีต้าคอยจดข้อมูลเพื่อนำมาหาข้อสรุป

จากการสรุปข้อมูบ พบว่า บ้านแต่ละหลังมีสูตรเฉพาะในการเพาะเห็ดไม่เหมือนกัน บางบ้านใช้น้ำตาลเป็นส่วนผสม แต่บางบ้านใช้รัมเป็นส่วนผสม แล้วแต่สูตรของแต่ละคน

“วันที่พวกเราไปสัมภาษณ์ ไปถึงเราแนะนำตัวก่อนว่าพวกเราเป็นใคร มาทำอะไรแล้วค่อยเริ่มถามข้อมูลที่เราอยากรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ด มีเขินบ้างนิดหน่อยแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ” นูรีต้า เล่าถึงบรรยากาศการทำงาน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้พวกเธอหวั่นใจมากที่สุด คือการนำเสนอข้อมูลในเวทีกลางเกี่ยวกับเห็ดที่เก็บรวบรวมได้ แม้เตรียมข้อมูลมาอย่างดี ทั้งเรื่องวิธีการเพาะ อุปกรณ์ที่ใช้ และการดูแลเห็ด มีการซักซ้อมการนำเสนออยู่หลายหน แต่สุดท้ายก็ตกม้าตายร้องไห้เพราะกลัวไมค์กันทุกคน

“ตอนนั้นพวกเรากลัว เพราะไม่รู้จักใครเลยสักคนในเวทีนั้น เป็นเวทีแรกที่ได้เจอกับเพื่อนต่างโครงการ”

ทั้งสามคนพยายามสื่อสารความกลัวในวันนั้นพร้อมกันแบบประสานเสียง แม้จะเป็นชั่วโมงที่กดดันที่สุดของการทำโครงการ แต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้ ด้วยเคล็ดลับที่แทบไม่น่าเชื่อว่าจะใช้ได้ผล “เวลาที่หนูพูดจะให้เพื่อนถือไมค์ให้ค่ะ หนูไม่ถือเองเพราะถ้าถือเดี๋ยวพูดไม่ออก”

ถือว่าเป็นการใช้ไหวพริบที่ทำให้สามารถผ่านเหตุการณ์ครั้งนั้นมาได้ด้วยดี


++ เห็ดนางฟ้า...ท้าทดลอง++

แม้ต้องเสียน้ำตากันไปบ้าง กับการนำเสนอผลการทำโครงการในครั้งแรก แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคหยุดยั้งความขี้สงสัยและความอยากรู้อยากลองของพวกเธอ กิจกรรมที่น่าตื่นเต้นลำดับต่อไป คือ การลงมือทำก้อนเห็ดนางฟ้า

ก้อนเห็ดจำนวน 300 ก้อน !! คือโจทย์ที่ พิเชษฐ์ เบญจมาศ หรือที่น้อง ๆ เรียกกันจนติดปากว่า “บังเชษฐ์” เจ้าหน้าที่โครงการ Satun Active Citizen ตั้งเป้าให้กับพวกเธอ ขี้เลื่อยร้อยกว่ากิโลกรัม ถูกสั่งมาใช้ในการทำงานค่อยๆ ทยอยมาส่ง และวางรวมไว้หน้าบ้านของ อดุลย์ หาสกุล พี่เลี้ยงโครงการฯ ซานิต้า นูรีต้า หนูนา และเพื่อนๆ ใช้เวลาช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ นัดแนะเวลามาช่วยกันทำก้อนเห็ดนางฟ้า แม้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้รู้มาแล้ว แต่เมื่อต้องลงมือทำจริงๆ คนที่ให้ความรู้ไม่ใช่ใครที่ไหน พี่อดุลย์ พี่เลี้ยงของพวกเธอนั่นเองที่คอยสอนขั้นตอนการทำก้อนเห็ด

“ตอนแรกรู้สึกยากมากพราะไม่เคยทำมาก่อน” ซานิต้า บอก ส่วนที่ยากที่สุดสำหรับเธอ คื อตอนอัดขี้เลื่อยให้แน่น เพราะต้องใช้กำลังพอสมควร ส่วนหนูนาที่พอมีทักษะอยู่บ้างจากการช่วยงานที่บ้าน ก็ได้นำความรู้มาช่วยพี่เลี้ยงถ่ายทอดให้กับเพื่อน ๆ อีกแรง

“ตอนทำก็มีแอบบ่นกันค่ะ ว่าเยอะจัง แต่พอทำเข้าจริงๆ ก็ไม่ได้เยอะอย่างที่คิด ทำไปทำมาสนุกดีค่ะ เพราะได้มานั่งทำกับเพื่อนๆ ” หนูนา กล่าว

พวกเธอบอกว่าขั้นตอนที่ยากที่สุดอีกอย่างสำหรับเธอคือ ขั้นตอนการนิ่งก้อนเห็ดเพาะเชื้อ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กลุ่มเยาวชนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ยาก” เพราะแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการนิ่งค่อนข้างนาน หากดูแลไฟไม่ดี ก้อนเห็ดอาจสุกไม่เท่ากัน ทำให้ก้อนเห็ดที่ได้ไม่สมบูรณ์หากนำไปเพาะอาจทำให้ขึ้นราได้ แต่ดูเหมือนความร่วมมมือของกลุ่มเยาวชน ที่อาจมีเวลาว่างตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง สุดท้ายก้อนเห็ดนางฟ้าก็ถูกนำเข้าโรงเรือนเพื่อทำการเพาะเลี้ยงต่อไป กลุ่มเยาวชน บอกว่า ใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่งเดือนเพื่อรอเห็ดนางฟ้าออกดอก พร้อมนำไปแปรรูปเป็นเมนูเห็ดแสนอร่อย

ระหว่างที่รอเห็ดในโรงเรือนออกดอก สิ่งที่พวกเธอทำต่อไป คือ การหาข้อมูลเกี่ยวกับการแปรรูปเห็ดทั้งจากคนในชุมชนและจากอินเทอร์เน็ต เพื่อนำมาตัวเลือกสำหรับการแปรรูปเห็ดรสเด็ดฝีมือกลุ่มเยาวชนลูกลิงหัวกาหมิง


++แหนมเห็ด...เด็ดใช่ย่อย ++

เห็ดเป็นผลผลิตที่ค่อนข้างมีอายุสั้นในการเก็บรักษา ทีมงานจึงวางแผนหาข้อมูลเกี่ยวกับการแปรรูปเห็ดนางฟ้า เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหาร เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเห็ดนางฟ้าผ่านการแปรรูปอาหาร

เห็ดสวรรค์ ลูกชิ้นเห็ด ข้าวเกรียบเห็ด เห็ดสมุนไพร แหนมเห็ด คือเมนูที่ในเช็คลิสต์ที่กลุ่มเยาวชนนำมาประชุมหารือกัน เพื่อเลือกเมนูที่คิดว่าเหมาะกับการแปรรูปมากที่สุด

“แหนมเห็ด” เป็นเมนูที่ได้ไปต่อ!!

กลุ่มเยาวชน บอกว่า ช่วงแรกกังวลใจอยู่ไม่น้อย แม้ได้เมนูในการแปรรูปแล้ว แต่ยังไม่มีผู้รู้ที่สามารถข้ามาสอนการทำแหนมเห็ดให้กับพวกเธอได้

“ตอนนั้นเครียดค่ะ เพราะว่าพวกเราในทีมไม่มีใครทำแหนมเห็ดเป็นเลย แต่โชคดีได้ก๊ะเนตร อาสาเข้ามาสอนการทำแหนมเห็ดให้ ตอนที่รู้ว่าก๊ะจะเข้ามาสอนให้ดีใจมาก” นูริต้า เล่า

ก๊ะเนตร หรือ ยุพาพร ปะดุลัง เจ้าหน้าที่โครงการ Satun Active Citizen อาสาเข้ามาให้ความรู้เรื่องการทำแหนมเห็ดแก่กลุ่มเยาวชน พวกเธอตั้งใจเก็บเกี่ยวความรู้จากก๊ะเนตรอย่างเต็มที่ จดสูตรส่วนผสมและขั้นตอนการทำลงในสมุดอย่างครบถ้วน เพราะรู้ว่าการฝึกฝนครั้งต่อไป ต้องเป็นพวกเธอที่รับผิดชอบทำกันด้วยตัวเอง

ข้าวเหนียวสุก กระเทียมโขลก พริกขี้หนูสด เห็ดนางฟ้าลวก และเกลือ คือ ส่วนผสมหลักที่ใช้ในการทำแหนมเห็ดนางฟ้า ที่ขาดไม่ได้ คือ หนังยาง และถุงพลาสติก สำหรับการบรรจุหีบห่อ

หนูนาบอกว่าขั้นตอนที่ยากไม่ได้อยู่ที่ตอนผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน แต่ที่คือตอนที่ต้องมัดหนังยางให้แน่นเพื่อให้ได้ทรงของแหนมที่สวยน่าทานมากกว่า เธอบอกว่ากว่าจะมัดได้แต่ละชิ้นเล่นเอาเจ็บมืออยู่เหมือนกัน

“หลังจากทำเสร็จแล้วพักแหนมไว้ประมาณ 3-4 วัน จึงสามารถนำมารับประทานได้ พวกหนูทำประมาณ 4-5 ครั้ง ทำเสร็จแล้วลองเอาไปให้พี่ๆ ในโครงการฯ ทานกัน เขาบอกว่าอร่อย ตอนนั้นก็รู้สึกดีใจ มีแอบยิ้มบ้างเล็กน้อยค่ะ” พวกเธอเล่าไปยิ้มไป สัมผัสได้ถึงความภูมิใจที่มีต่อการทำแหนมเห็ดที่ได้ลงมือทำกันด้วยตัวเอง


++แหนมเห็ด In the market ++

“พวกเรามั่นใจว่าขายได้ เพราะว่ามันอร่อย”

เมื่อตกลงกันได้ว่าจะวางแหนมเห็ดขายอย่างเป็นทางการ กลุ่มเยาวชนจึงประชุมเพื่อหาราคากลางที่เหมาะสม โดยมีบังเชษฐ์เข้ามาช่วยให้ความรู้เรื่องการตั้งราคา ได้ข้อสรุปอยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท ขายเป็นลูกอยู่ที่ 3 ลูก 10 บาท

นูริต้า ซูนาต้า หนูนาและเพื่อน ๆ แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ ตอนขายพวกเธอยอมรับว่ามียังมีอาการเขิน อายอยู่เหมือนเดิม แต่เวลาลูกค้าเดินเข้ามาสอบถามราคาก็กล้าพูดคุยแนะนำ เพราะลงมือทำด้วยตัวเองจริงสามารถตอบคำถามต่างๆ ได้ พวกเธอผลัดกันเชิญชวนลูกค้าให้เข้ามาแวะชิม แวะชมแหนมเห็ดนางฟ้า

แม้แอบกังวลในใจว่าว่าแหนมเห็ดที่นำมาอาจขายไม่หมด เพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจ เดี๋ยวฝนตกเดี๋ยวแดดออก บวกกับตำแน่งที่วางขายไม่มีหลังหลบแดดหลบฝน แต่ผ่านไปสองวันพวกเธอก็ขายแหนมเห็ดนางฟ้า 3 กิโลกรัมจนหมดเกลี้ยง

รายรับครั้งแรกเป็นจำนวนเงินพันกว่าบาท เงินก้อนแรกจากการขายแหนมเห็ดที่ทำเองกับมือ สร้างความภาคภูมิใจและทำให้พวกเธอดีใจอย่างบอกไม่ถูก


++ก้าวข้ามความกลัว...ด้วยการเผชิญหน้า++

ตลอดระยะเวลาที่ทำโครงการ กลุ่มเยาวชนได้ลงสนามฝึกฝนทักษะหลากหลายด้าน ทั้งการพูดในที่ชุมชน การสัมภาษณ์ การเพาะเห็ด หรือแม้แต่การสวมบทเป็นแม่ค้าขายแหนมเห็ด แต่การนำเสนอโครงการยังเป็นสิ่งที่พวกเธอรู้สึกกังวลใจ และยังคงกล้าๆ กลัวๆ ที่จะรับบทบาทนั้น

ใครเป็นคนนำเสนอให้คนนั้นมายืนอยู่ตรงกลาง เพื่อนที่เหลือยืนรอบทั้งสองข้าง และคอยจับไมค์ให้กับเพื่อนที่นำเสนอโครงการ” เทคนิคน่ารัก ๆ ที่พวกเธอยังคงใช้กันอยู่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองและเพื่อนๆ ในกลุ่มหากมีโอกาสได้พูดในที่ชุมชน

ทางออกที่ใช้ได้ผลดีมาก ๆ ช่วยให้ทีมงานข้ามผ่านความกลัวแต่ละครั้งไปได้

เมื่อชวนทั้ง 3 สาวทบทวนถึงความเปลี่ยนแปลงในตัวเองที่เกิดขึ้นหลังจากทำโครงการฯ หนูนา กล่าวว่า

“สิ่งที่รู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไปคือเรื่องการพูด ก่อนหน้านี้ไม่กล้าพูดกับคนอื่น หลังจากทำโครงการนี้ช่วยให้กล้าพูดมากขึ้น เวลาเจอคนในชุมชนก็ทัก กล้าคุย เมื่อกล้าพูดทำให้เรารับรู้ข่าวสารจากคนอื่นมากขึ้น และนำเอาทักษะการพูดไปใช้ในห้องเรียนด้วย ก่อนหน้านี้เวลานำเสนองานจะอยู่หลังเพื่อนตลอด ตอนนี้กล้ามากขึ้น กล้าออกมายืนแถวเดียวกับเพื่อนเวลาต้องนำเสนองานหน้าชั้นเรียน”

นูริต้าบอกว่าสิ่งที่เธอได้มากที่สุดในโครงการนี้คือเรื่องความตรงต่อเวลา จากเดิมคิดมาเมื่อไรก็มา มาช้าบ้างสายบ้าง แต่หลังจากเริ่มทำโครงการได้สักระยะตนพบว่า ไม่อยากให้เพื่อนต้องรอตัวเองอีกต่อไป เวลาเพื่อนนัดทำกิจกรรมจึงพยายามมาให้ตรงเวลามากขึ้น นอกจากนี้ เธอยังรู้สึกชอบการขายแหนมเห็ด เพราะได้พูดคุย ชักชวนลูกค้าให้เข้ามาอุดหนุนสินค้าของเธอ ยิ่งลูกค้าซื้อแหนมเห็ดจากเธอ เธอยิ่งรู้สึกภูมิใจ

ด้านซานิตาบอกว่าสิ่งที่ตัวเองเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือความกล้าแสดงออก จากเดิมไม่กล้าจับไมค์ ไม่กล้าพูดนำเสนอโครงการ ถ้าเทียบกับปัจจุบันนี้เธอสามารถพูดนำเสนองานได้ จนครูในโรงเรียนเองแปลกใจที่เธอกล้าพูดมากขึ้น การได้ลงพื้นที่ ได้ไปพบปะผู้คน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้วิธีการเพาะเห็ด เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เธอกล้าพูดมากขึ้น

จากหญิงสาวขี้อายที่เคยเสียน้ำตากันทั้งกลุ่มเพราะต้องจับไมค์นำเสนอข้อมูลโครงการครั้งแรก กลุ่มเยาวชนลูกลิงหัวกาหมิงค่อยๆ หาทางรับมือกับความเขินอาย เรียนรู้การเข้าสังคม พยายามก้าวข้ามความกลัว จนสามารถพัฒนาความกล้าและความมั่นใจในตัวเองได้ในที่สุด ถือเป็นภาพความสำเร็จของโครงการที่ได้มากกว่าความรู้เรื่องการเพาะเห็ด แต่เป็นทักษะติดตัวเป็นประโยชน์กับพวกเธอในอนาคต

+++++++++++++++++++++



บทสัมภาษณ์โครงการเด่น โครงการเพิ่มรายได้โดยการเพาะเห็ดนางฟ้าและแปรรูปเห็ดนางฟ้าแบบปลอดสารพิษ

โดยกลุ่มเยาวชนลูกลิงหัวกาหมิง ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล


แกนนำเยาวชน

  1. ซานิตา หลังการณ์ ชื่อเล่น ต้า  อายุ 15 ปี  ระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนควนโดนวิทยา
  2. นางสาว นูรีต้า บัญชะ ชื่อเล่น ต้า  อายุ 15 ปี  ระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนควนโดนวิทยา
  3. อัสรีนา หาสกุล ชื่อเล่น หนูนา  อายุ 15 ปี  ระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนควนโดนวิทยา



ถาม : เล่าที่มาที่ไปให้ฟังหน่อยใครเป็นคนต้นคิดทำไมถึงเลือกทำเกี่ยวกับการแปรรูปเห็ดนางฟ้า

ตอบ (นูรีต้า) ช่วยกันคิดค่ะ


ถาม : ที่ชุมชนหรือหมู่บ้านของเราเขาทำเห็ดนางฟ้ากันเยอะ หรือว่าเราชอบกินเห็ดนางฟ้า

ตอบ : (นูรีต้า) ก็มีคนทำอยู่บ้างค่ะ


ถาม : ในหมู่บ้านใช่ไหมคะ

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : แล้วครอบครัวของเรา ในกลุ่ม มีใครที่ทำเห็ดนางฟ้าไหม

ตอบ : (นูรีต้า) หนูนาค่ะ


ถาม : ใครทำ พ่อกับแม่เหรอ

ตอบ : (หนูนา)ค่ะ


ถาม : ทำเยอะไหม

ตอบ : (หนูนา) เยอะอยู่


ถาม : แล้วบ้านนูรีต้ากับซานิตาทำไม

ตอบ : ไม่ได้ทำ


ถาม : จะมีที่บ้านหนูนาที่ทำเกี่ยวกับเห็ดนางฟ้า ขายดีไหม ทำไมเขาถึงปลูกกัน

ถาม : (นูรีต้า) ขายดีค่ะ


ถาม : เขาขายกันอย่างไร ขายเป็นกิโลกรัมเหรอ

ตอบ : (นูรีต้า)ขายเป็นกิโลกรัมค่ะ กิโลกรัมละ 60 – 70 บาท


ถาม : ถือว่าแพงไหม

ตอบ : (หนูนา)ไม่แพงค่ะ


ถาม : ถ้าปกติแบบแพงสุดเท่าไร จำได้ไหม ถึงร้อยไหม

ตอบ : (หนูนา)กิโลกรัมละร้อยกว่าบาท


ตอบ : แต่ว่าอันนี้อยู่ที่ 60 – 70 บาท ใครก็ได้เล่าให้ฟังหน่อยสิ อยากรู้ว่าทำไมถึงเลือกทำโครงการเพาะเห็ดนางฟ้า ก่อนหน้านี้อยากทำโครงการอื่น อยากทำเรื่องอื่นไหม หรือพอเขามาประชุมแล้ว เราอยากทำเพาะเห็ดนางฟ้าเลย ลองเล่าย้อนให้พี่ฟังหน่อย

ตอบ : (นูรีต้า) อยากทำเห็ดนางฟ้าเลย


ถาม : ใครเป็นคนเสนอว่าอยากทำเห็ดนางฟ้าจำได้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ช่วยกันคิดค่ะ


ถาม : ตอนนั้นคิดอะไรอยู่ ถึงรู้สึกว่าทำเห็ดนางฟ้าดีกว่า เราเห็นคนในชุมชนเขาทำ

ตอบ : (นูรีต้า) เพราะพี่เลี้ยงทำอยู่แล้ว


ถาม : พี่เลี้ยงเราทำเห็ดนางฟ้าอยู่แล้ว ตอนนั้นที่เราทำ เราทำเพราะว่าเราอยากขายเห็ดนางฟ้า หรือว่ามีเป้าหมายอื่น

ตอบ : (นูรีต้า) แปรรูปแล้วก็ขายค่ะ แล้วก็ให้ชุมชนด้วยค่ะ


ถาม :ให้ชุมชนเขาได้รับความรู้เหรอ หรือว่าอย่างไรตอนนั้น

ตอบ : (นูรีต้า) ได้รับความรู้ค่ะ


ถาม : ที่เราบอกในชุมชนเขาก็มีคนเพาะเห็ดนางฟ้าอยู่แล้ว ถ้าถามว่ากี่หลังพอจะรู้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) อย่างละหนึ่งหลัง


ถาม : มีกี่ชุมชน ชุมชนละหนึ่งหลัง

ตอบ : (นูรีต้า) 5 – 6 ชุมชน


ถาม : ชุมชนเป็นหมู่บ้านเหรอ หรือหมายถึงอย่างไร ตามความหมายของเรา

ตอบ : (นูรีต้า) เป็นหมู่บ้าน


ถาม : อยากให้เราสามคนลองเล่าให้พี่ฟังหน่อยสิ ว่ากิจกรรมที่เราทำในโครงการ เราทำกิจกรรมอะไรบ้างในโครงการ จำได้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) สืบค้นข้อมูล ลงสำรวจ แล้วก็ลงมือทำ


ถาม : มีอะไรอีกไหม เผยแพร่ให้ชุมชนมีไหม

ตอบ : (ซูนิตา) ยังค่ะ


ถาม : หลัก ๆ จะมีสืบค้นข้อมูล สำรวจ แล้วก็ลงมือทำ อย่างสืบค้นข้อมูล เราสามคนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับอะไรบ้าง

ตอบ : (หนูนา) การเพาะเห็ดและการแปรรูปค่ะ อุปกรณ์


ถาม : อุปกรณ์อะไรคะ อุปกรณ์ในการเพาะเห็ดใช่ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : เราไปสืบค้นข้อมูลจากที่ไหน อย่างการเพาะเห็ด การแปรรูป

ตอบ : (นูรีต้า) จากหมู่บ้านที่เขาเพาะเห็ดอยู่แล้ว


ถาม : หมู่บ้านอะไร ทั้ง 5 หมู่บ้านที่เราบอก หรือว่าเราเลือก

ตอบ : (นูรีต้า) ทั้ง 5 เลยค่ะ


ถาม : มีหมู่บ้านอะไรบ้างนะ จำได้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) หมู่บ้านน้ำร้อน หมู่บ้านเกาะใหญ่ หมู่บ้านคุณลุงตง หมู่บ้านกาหมิง หมู่บ้านควนบ่อทอง


ถาม : เราลงพื้นที่ไปถามเกี่ยวกับการเพาะเห็ดห้าหมู่บ้าน ตอนลงพื้นที่ไปสามคนนี้เราแบ่งหน้าที่กัน

ตอบ : (นูรีต้า) แบ่งหน้าที่ค่ะ


ถาม : ใครทำอะไรบ้าง

ตอบ : (นูรีต้า) หนูเป็นคนเขียนค่ะ ซานิต้าเป็นคนสัมภาษณ์ หนูนาเป็นคนถ่ายรูปค่ะ


ถาม : ซานิตาสัมภาษณ์ นูรีต้าเขียน แล้วหนูนาถ่ายรูป แต่จริง ๆ ในทีมเรามีทั้งหมดกี่คน ตอนลงพื้นที่

ตอบ : (นูรีต้า) ห้าค่ะ


ถาม : อีกสองคนทำอะไร

ตอบ : (นูรีต้า) ไปด้วยกัน


ถาม : ตอนลงพื้นที่ลองเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหม บรรยากาศเราไปสัมภาษณ์ เราไปทำอะไรบ้าง ลองจำลองสถานการณ์ให้พี่ฟังสักที่หนึ่งก็ได้ว่าเราไปทำอะไรกันบ้าง ตอนแรกเข้าไปทำอะไรกันบ้าง แนะนำตัวก่อนไหม

ถาม : (นูรีต้า) แนะนำตัวก่อน


ตอบ : แนะนำตัวว่า คือเข้าไปแนะนำตัวแล้วก็ไปถามเกี่ยวกับอะไรบ้าง

ถาม : (หนูนา) การเพาะเห็ดแล้วก็อุปกรณ์การทำ


ถาม : ถามทั้งห้าหมู่บ้านเลยเหรอ

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : เขาให้คำตอบเหมือนกันไหม

ตอบ : (หนูนา) ไม่ค่ะ


ถาม : ส่วนใหญ่ที่ให้ข้อมูลแตกต่างกันเป็นเรื่องอะไร เรื่องอุปกรณ์หรือเรื่องการเพาะเห็ดที่ให้ข้อมูลไม่ตรงกัน

ตอบ : (หนูนา) เรื่องวิธีการผสม


ถาม : แต่ละหมู่บ้านมันไม่เหมือนกันใช่ไหม ลองยกตัวอย่างให้ฟังหน่อยสิ แต่ละที่ที่เขาแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ : (หนูนา) เขาใส่เป็นน้ำตาล


ถาม : ถ้าอย่างบ้านลุงตง เขาบอกเหตุผลไหม ว่าทำไมเขาถึงใส่น้ำตาล เพราะ

ตอบ : (หนูนา) ไม่บอกค่ะ เป็นสูตรของเขาโดยเฉพาะ


ถาม : แล้วมีบ้านไหนอีกที่มีสูตรของเขา

ตอบ : (ซานิตา) หมู่บ้านอื่นจะใส่เหมือนกันหมด


ถาม : ส่วนใหญ่หมู่บ้านอื่นจะใช้สูตรเหมือนกันหมด ใส่รัม ตอนที่เราลงพื้นที่ไปห้าหมู่บ้าน เพื่อที่จะไปถามข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะเห็ด แล้วอุปกรณ์การเพาะเห็ด มีปัญหาติดขัดอะไรไหม เช่น ไปไม่เจอ หรือว่าได้ข้อมูลไม่ครบ ผู้ใหญ่ที่เขาถามยินดีให้ความรู้ไหม มีปัญหาอะไรไหม

ตอบ : (นูรต้า) ไปแล้วไม่พบ ฝนตกด้วย


ถาม : ที่เราไปแล้วไม่เจอ เพราะว่าอะไร เราไม่ได้นัด หรือว่านัดแล้วเขาไม่อยู่

ตอบ : (หนูนา)ไม่ได้นัด


ถาม : ไม่ได้นัดก็เลยไม่เจอ แล้วบ้านที่เราไปหาแล้วเราไม่เจอเขา เราใช้วิธีการอย่างไร นัดใหม่ ไปหาใหม่ หรือว่าอย่างไร

ตอบ : (หนูนา)ไปหาใหม่


ถาม : ตอนไปหาใหม่ เรานัดเขาหรือเปล่า

ตอบ : (หนูนา) ไม่ค่ะ


ถาม : ไปแบบไม่ได้นัดเหมือนเดิม แต่โชคดีที่เจอ เขายินดีให้ความรู้กับเราทุกคนเลยไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ยินดีค่ะ


ถาม : ไม่มีใครถามว่ามาทำไม เอาข้อมูลไปทำอะไร ไม่มีใช่ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) มีบ้างค่ะ


ถาม : ตอนที่เราลงพื้นที่ไป เราชอบไหม สนุกไหม หรือว่าเบื่อ

ตอบ : (นูรีต้า) สนุกค่ะ


ถาม : ทำไมถึงรู้สึกสนุก สนุกตรงไหน

ตอบ : (นูรีต้า) ได้ขี่รถ


ถาม : ปกติไม่ได้ขี่รถเหรอ

ตอบ : (หนูนา)ปกติแม่ไม่ค่อยให้ออกจากบ้านค่ะ


ถาม : อยู่ไกลกันไหมห้าหมู่บ้าน ใช้เวลากี่วัน

ตอบ : (นูรีต้า) สองวันค่ะ


ถาม : วันเสาร์อาทิตย์เหรอ

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : ก่อนที่เราจะลงไปสัมภาษณ์ เราคุยกันก่อนไหม ว่าเราจะถามข้อมูล จะใช้คำถามอะไรบ้าง  ประชุมกันก่อนไหม หรือว่าแค่นัดเฉย ๆ

ตอบ : ประชุมกันก่อนค่ะ


ถาม : ประชุมกันเอง หรือว่าพี่เลี้ยงเป็นคนพาประชุม

ตอบ : (หนูนา) ประชุมกันเองค่ะ


ถาม : ตอนประชุมมีทะเลาะกันไหม

ตอบ : ไม่ค่ะ


ถาม: นูรีต้ารับหน้าที่เป็นอะไรในโครงการ

ตอบ : (นูรีต้า) เป็นเลขาค่ะ


ถาม : ซานิตาเป็นอะไรในโครงการ

ตอบ : (ซานิตา) รองประธานค่ะ


ถาม : หนูนาล่ะ

ตอบ : (หนูนา) เป็นคนดูแลบัญชีค่ะ


ถาม : ก่อนลงพื้นที่เราประชุมกันก่อนใช่ไหม ประชุมอะไรกันบ้าง จำได้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) มานั่งถามกันค่ะ ว่าจะไปบ้านไหนก่อน แล้วถามคำถามอะไร เขียนตั้งไว้ในสมุด แล้วก็ไปค่ะ


ถาม : หมู่บ้านที่เราบอกห้าหมู่บ้าน เรารู้ได้อย่างไรว่าจะไปบ้านไหน พี่เลี้ยงเป็นคนบอก หรือเราไปหาข้อมูลมาก่อน

ตอบ : (นูรีต้า) พี่เลี้ยงเป็นคนบอกค่ะ


ถาม : พี่เลี้ยงเป็นคนบอกว่ามีบ้านไหนบ้าง แล้วเราก็มาประชุมว่าเราจะไปที่ไหนกันบ้าง หลังจากได้ข้อมูลแล้ว เรากลับมาสรุปคุยกันอีกรอบหนึ่งไหม หรือว่าทำอย่างไรต่อ

ตอบ : (นูรีต้า) คุยกันอีกรอบค่ะ


ถาม : คุยอะไรกันบ้าง เล่าให้ฟังหน่อยสิ

ตอบ : (นูรีต้า) คำถามที่พวกหนูไปถามเอามาจากเว็บค่ะ แล้วเอาไปนำเสนอค่ะ


ถาม : นำเสนอใคร

ตอบ : (นูรีต้า) ที่ชมรมค่ะ


ถาม : เป็นอย่างไรบ้าง เล่าให้ฟังหน่อยสิ ตอนไปนำเสนอเป็นอย่างไร ใครเป็นคนนำเสนอ ซานิตาเป็นคนนำเสนอเหรอ เป็นอย่างไรบ้าง ตอนนำเสนอโครงการ

ตอบ : (ซานิตา) กลัวไมค์ ร้องแล้วค่ะ


ถาม : ใครร้อง

ตอบ : (ซานิตา) ทั้งหมดค่ะ


ถาม : ร้องคือร้องจริง ๆ เหรอ ร้องไห้แบบนี้เหรอ

ตอบ : (ซานิตา) ค่ะ


ถาม : ทำไม ตอนนั้นกลัวเหรอ

ตอบ : (ซานิตา) กลัวค่ะ ไม่รู้จักใครค่ะ แล้วก็สั่นค่ะ


ถาม : คือไม่เคยเจอ เป็นเวทีแรกที่เราไปเจอกับเพื่อน ๆ ในโครงการทั้งหมดด้วยใช่ไหม

ตอบ : (ซานิตา) ค่ะ


ถาม : เป็นอย่างไรตอนนั้น ตื่นเต้น กลัว

ตอบ : (ซานิตา) ตื่นเต้นมากเลยค่ะ แล้วกลัวด้วย


ถาม : สุดท้ายตอนนำเสนอ เราก็นำเสนอได้ใช่ไหม

ตอบ : (ซานิตา) ได้ค่ะ


ถาม : ได้พูดในสิ่งที่เราลงพื้นที่ไปไหม มีนูรีต้าได้นำเสนอด้วยไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ได้ค่ะ แต่ให้เพื่อนถือไมค์ให้ค่ะ หนูไม่ถือไมค์เอง


ถาม : ทำไม

ตอบ : (นูรีต้า) หนูกลัวค่ะ เดี๋ยวพูดไม่ออก


ถาม : ถ้าจับไมค์จะพูดไม่ออก เสียงจะหายใช่ไหม หนูนาล่ะ วันนั้น หนูนานำเสนอด้วยไหม

ตอบ : (นูรีต้า) นำเสนอค่ะ


ถาม : พูดได้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ได้นิดหน่อยค่ะ


ถาม : สามคนนี้ วันนั้นใครเป็นคนพูดเยอะสุด

ตอบ : ซานิตาค่ะ


ถาม : ก่อนไปนำเสนอ ซ้อมกันก่อนไหม

ตอบ : ซ้อมค่ะ


ถาม : เป็นเหมือนที่เราซ้อมไหม

ตอบ : ไม่ค่ะ


ถาม : ตอนซ้อมเป็นอย่างไร

ตอบ : (นูรีต้า) ตอนซ้อมจะแบ่งกันพูดค่ะ คนหนึ่งจะพูดอันนี้ คนหนึ่งจะพูดอันนี้ แต่พอมาจริง ๆ แล้วไม่มีใครกล้าพูดค่ะ


ถาม : ไม่มีใครกล้าพูดเลย เพราะว่าเขิน กลัว แล้วพอหลังจากเวทีนั้น พอผ่านไปได้แล้ว เรารู้สึกอย่างไรบ้าง กลัวน้อยลงไหม หรือว่ากลัวเหมือนเดิม

ตอบ : (นูรีต้า) กลัวน้อยลงค่ะ


ถาม : ตอนนี้ให้พูดนำเสนอจับไมค์ ทำได้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ยังกลัวอยู่ค่ะ


ถาม : ซานิตาล่ะ

ตอบ : (ซานิตา) ได้นิดหนึ่ง


ถาม : หนูนาล่ะ ให้จับไมค์ คิดว่าเราทำได้ดีกว่าครั้งแรกไหม

ตอบ : (หนูนา) นิดหน่อย


ถาม : เวทีนั้นที่เราเอาข้อมูลไปนำเสนอ เรานำเสนอข้อมูลอะไรบ้างนะ

ตอบ : (หนูนา)การเพาะเห็ดอย่างเดียว แล้วก็วิธีการดูแล อุปกรณ์ในการทำ


ถาม : เป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่นำเสนอเสร็จ พี่ ๆ ให้ข้อมูลหรือข้อเสนอแนะอะไรไหม

ตอบ : (หนูนา)มีบ้างค่ะ


ถาม : เราเอากลับมาไหม จดแล้วปรับแก้ไขไหม

ตอบ : (นูรีต้า) เอากลับมาแก้ไขค่ะ


ถาม : หลังจากนั้นทำอะไรต่อ พอไปนำเสนอเสร็จแล้ว เราลงสำรวจอะไรอีกไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ลงมือทำเลยค่ะ


ถาม : ตอนสืบค้นข้อมูลกับตอนที่ลงสำรวจคือทำด้วยกันเหรอ มีลงสำรวจด้วย

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : ตอนลงมือทำ ลงมือทำอะไรกันบ้าง

ตอบ : (นูรีต้า) ทำก้อนเห็ดค่ะ


ถาม : ทำอะไรอีก

ตอบ : (นูรีต้า) แปรรูปเห็ด


ถาม : มีลงมือทำอะไรอีกไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ไม่มีแล้ว


ถาม : เราไม่ต้องทำที่เพาะใช่ไหม โรงเรือนไม่ต้องใช่ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ไม่ต้องค่ะ


ถาม : เราใช้โรงเพาะเห็ดของใคร

ตอบ : (นูรีต้า) ของพี่เลี้ยงค่ะ


ถาม : พี่เลี้ยงมีอยู่แล้ว เราแค่ทดลองทำก้อนเห็ด ลองเล่าขั้นตอนการทำก้อนเห็ดให้ฟังหน่อย มันยากไหม

ตอบ : (ซานิตา) ยาก เอาขี้เลื่อยมาผสมให้เข้ากับของที่จะทำเห็ดค่ะ แล้วก็ทิ้งไว้หนึ่งคืน พอตื่นมาตอนเช้าก็เริ่มลงมือทำใส่ถุง


ถาม :ตอนที่เราลงมือทำ มีคนมาสอนเรา มีผู้รู้มาสอน หรือว่าพี่เลี้ยงสอน หรือเราไปหาข้อมูลการทำกันเอง

ตอบ : (ซานิตา)พี่เลี้ยงสอนค่ะ


ถาม : พี่เลี้ยงสอน แล้วเราก็เป็นคนทำ

ตอบ : (หนูนา)ค่ะ


ถาม : ยากไหม

ตอบ : (ซานิตา)ยากค่ะ


ถาม : ทำไมยาก ยากตรงไหน

ตอบ : (ซานิตา) เพราะว่าไม่เคยทำค่ะ


ถาม :อย่างนูรีต้ากับซานิตาไม่เคยทำมาก่อน แล้วหนูนา ตอนปกติหนูนาบอกว่าที่บ้านหนูนาทำเห็ดอยู่แล้ว อยู่บ้านหนูนาช่วยที่บ้านทำไหม อย่างนี้ก็ช่วยบอกเพื่อนได้หรือเปล่า สอนเพื่อนไหม

ตอบ: (หนูนา) ก็ช่วย


ถาม: เพราะฉะนั้นสำหรับหนูนาก็ไม่ได้ยาก เพราะว่าเคยทำมาก่อนแล้ว อย่างที่นูรีต้าบอกว่ายาก ตรงไหนที่ยากสำหรับเรา ตอนที่ทำ

ตอบ : (นูรีต้า) ตอนทุบค่ะ เพราะต้องให้ขี้เลื่อยมันแน่นค่ะ


ถาม : อย่างซานิตามีอะไรที่ยากไหม ตอนทำก้อนเห็ด

ตอบ : (ซานิตา) ใส่คอ


ถาม : หมายถึงอันกลม ๆ เหรอ มันยากอย่างไร ต้องแน่นเหรอ

ตอบ : (ซานิตา) มันต้องแน่นค่ะ


ถาม : ตอนที่เราลงมือทำก้อนเห็ด อันนี้ทำก้อนเห็ด มีปัญหาติดขัดอะไรไหม อุปกรณ์พอไหมเพื่อนให้ความร่วมมือกันดีไหม

ตอบ : (ซานิตา) ติดขัดตอนเอาไปนึ่งค่ะ


ถาม : มันเป็นอย่างไร

ตอบ : (ซานิตา) ใช้เวลานาน แล้วถ้าดูแลไฟไม่ดี มันจะไม่สุก มันจะเป็นรา แล้วมันไม่ได้เป็นก้อนเห็ดที่สมบูรณ์


ถาม : แล้วตอนเราทำมีปัญหานี้ไหม มีราขึ้นไหม

ตอบ : (ซานิตา)มีค่ะ


ถาม : ความรู้สึกเราตอนนั้นเป็นอย่างไร เสียใจ ผิดหวัง หรือไม่เป็นไร เดี๋ยวทำใหม่

ตอบ : (ซานิตา)ไม่เป็นไร ทำใหม่


ถาม : เป็นเยอะไหม ที่รามันขึ้น

ตอบ : (หนูนา)ก็ไม่เยอะ


ถาม : ตอนที่เราทำก้อนเห็ด เราทำกันประมาณกี่ก้อน คนละก้อนสองก้อนหรือว่าอย่างไร

ตอบ : (หนูนา)สามร้อยก้อน


ถาม : ทำกันกี่คนตอนนั้น

ตอบ : (หนูนา)ห้าคนค่ะ


ถาม : ก็คือพวกเราในทีมนี่แหละใช่ไหม สามร้อยก้อนมันเยอะหรือมันน้อยสำหรับเราเนี่ย ทำตั้งสามร้อยก้อนเลย

ตอบ : (ซานิตา) ตอนยังไม่ทำรู้สึกว่าเยอะค่ะ แต่พอทำแล้วรู้สึกว่าน้อยค่ะ


ถาม : ตรงนั้นคือเราตกลงกันแล้วใช่ไหมว่าจะทำทั้งหมดสามร้อยก้อน

ตอบ : (ซานิตา)ค่ะ


ถาม : ทำไมตอนนั้นถึงระบุเป็นจำนวนสามร้อยก้อน จำได้ไหม คือคำนวณมาแล้วว่าต้องสามร้อยก้อน หรือว่าอย่างไร

ตอบ : (นูรีต้า)บังเชษฐ์เป็นคนคำนวณให้ค่ะ


ถาม : บังเชษฐ์เป็นคนคำนวณให้สามร้อยก้อน ตอนที่เราได้ยินว่าสามร้อยก้อน เรารู้สึกอย่างไรบ้าง

ตอบ : (นูรีต้า)ตกใจค่ะ


ถาม : ต้าใช้เวลากี่วันสามร้อยก้อน

ตอบ : (นูรีต้า)เป็นอาทิตย์


ถาม : ก็นั่งทำอยู่อย่างนั้น ตอนทำมีบ่นไหม บังเชษฐ์ให้ทำอะไรเนี่ย ตั้งสามร้อยก้อน หรือว่าก็สนุก

ตอบ : (นูรีต้า)มีบ่นค่ะ


ถาม : ใครบ่น

ตอบ : (นูรีต้า)ทั้งหมดเลยค่ะ


ถาม : บ่นว่าอย่างไรบ้าง เล่าให้ฟังหน่อย

ตอบ : (นูรีต้า) เหนื่อย


ถาม : แต่ก็ทำ สนุกไหม พอทำใกล้ ๆ จะครบสามร้อยแล้ว

ตอบ : (นูรีต้า) สนุกค่ะ


ถาม : ชอบอะไรที่สุดตอนนั่งทำก้อนเห็ดสามร้อยก้อน ลองเล่าบรรยากาศที่ประทับใจก็ได้

ตอบ : (นูรีต้า) ตอนทุบค่ะ


ถาม : ทำไม ได้ระบายเหรอ

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : ชอบตอนทุบกันหมดเลย สามร้อยก้อน เรารู้ไหมว่าต้องเตรียมขี้เลื่อย ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรเรารู้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) รู้ค่ะ


ถาม : ตอนนั้นจำได้ไหมว่าขี้เลื่อยต้องใช้ประมาณเท่าไร ถึงจะพอสามร้อยก้อน

ตอบ : (นูรีต้า) ประมาณร้อยกว่ากิโลกรัมต่อวัน


ถาม : แต่ละวัน ประมาณร้อยกว่ากิโลกรัม อย่างเวลาที่เราต้องเตรียมขี้เลื่อย เตรียมอุปกรณ์ เราเป็นคนไปหามาเอง หรือว่าพี่เลี้ยงคอยช่วย หรือผู้ปกครองเราคอยช่วย

ตอบ : (หนูนา) พี่เลี้ยงคอยช่วย


ถาม : มีอะไรบ้างที่เราทำด้วยตัวเราเอง โดยที่พี่เลี้ยงไม่ได้ช่วย

ตอบ : (หนูนา) แปรรูปเห็ดค่ะ


ถาม : เป็นขั้นตอนการแปรรูปเห็ดนะ แต่ตอนทำก้อนเห็ดจะเป็นพี่เลี้ยงที่คอยหาอุปกรณ์ให้ ตอนที่เราทำก้อนเห็ด ขี้เลื่อยพอไหม อุปกรณ์ครบไหม ตอนทำ

ตอบ : (หนูนา) มีขาดบ้างค่ะ


ถาม : ตอนที่ขาด ขาดอะไร

ตอบ : (หนูนา) ขาดรัม

ตอบ : (หนูนา) เพราะว่าคนต้องการเยอะค่ะ


ถาม : คนต้องการเยอะ หมายความว่า เราทำก้อนเห็ดเสร็จแล้วเราเอาไปเพาะ หรือว่าเราเอาไปขาย

ตอบ : (หนูนา) เอาไปเพาะค่ะ


ถาม : รัมที่คนต้องการเยอะ หมายถึง คนอื่น ๆ ก็ต้องการรัมด้วย มันก็เลยไม่พอ แต่สุดท้ายพี่เลี้ยงก็หามาได้ถูกไหม เรียบร้อย ตอนทำก้อนเห็ดคือทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี อาจจะมีบ่นบ้างว่าทำทั้งหมดสามร้อยก้อน แต่ก็ทำกันจนสำเร็จ แล้วก็เอาไปเพาะใช่ไหม ในโรงเรือนพี่เลี้ยงใช่ไหม

ตอบ : ค่ะ


ถาม : ตอนเอาไปเพาะหรือเอาไปวาง เราจัดแจงกันเองไหม หรือว่าทำสามร้อยก้อนเสร็จแล้วพี่เลี้ยงเอาไปเพาะเอง

ตอบ : (ซานิตา) พี่เลี้ยงเอาไปเพาะค่ะ


ถาม : เรามีหน้าที่แค่ทำให้ สามร้อยเอาไปเพาะ มันใช้เวลาเท่าไร กว่าที่เห็ดนางฟ้าจะออกผลผลิต

ตอบ : (ซานิตา) หนึ่งเดือน


ถาม : แล้วที่เราเอาไปแปรรูปเห็ด เราเอาเห็ดจากที่เราเพาะนี่แหละ หรือว่าเอาเห็ดที่มันมีอยู่แล้วมา

ตอบ : (ซานิตา) ที่เราเพาะ


ถาม : หมายความว่าหลังจากที่เราทำก้อนเห็ดเสร็จแล้ว เราก็รออีกหนึ่งเดือน เพื่อแปรรูปเห็ดใช่ไหม

ตอบ : (ซานิตา) ค่ะ


ตอบ : ระหว่างที่เรารอ กว่าที่เห็ดจะออกดอกให้เราแปรรูปได้ ระหว่างนั้นเราทำกิจกรรมอะไรกันไหม เราทำอะไรกันไหม

ตอบ : (ซานิตา) ไปนำเสนอที่ชมรมค่ะ


ถาม : ยังไปนำเสนออยู่ รายงานความเคลื่อนไหว วันนี้พอไปรายงานความเคลื่อนไหวแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ตื่นเต้นไหม ดีขึ้นกว่าเดิมไหม

ตอบ : (ซานิตา) เหมือนเดิมค่ะ


ถาม : เหมือนเดิม กล้าพูดกว่าเดิมไหมในความรู้สึก

ตอบ : (นูรีต้า)ไม่ค่ะ


ถาม : ยังอายเหมือนเดิม ยังเขินเหมือนเดิม นอกจากไปนำเสนอแล้วมีทำอะไรอีกไหม เก็บข้อมูลเพิ่มเติมไหม หรือว่าแวะเวียนมาคอยดูคอยเช็คไหม

ตอบ : (นูรีต้า)มีค่ะ มีเก็บข้อมูลค่ะ แล้วก็คอยเช็คตอนที่เห็ดกำลังจะออก


ถาม : ระหว่างหนึ่งเดือนนี้ก็ไปนำเสนอข้อมูลด้วย แล้วก็แวะเวียนมาคอยดูคอยเช็ค เราทำบันทึกลงในสมุดลงในกิจกรรมเราไหม หรือแค่มาเช็คดูเฉย ๆ ว่ามันออกดอกแล้วนะ

ตอบ : (นูรีต้า)เช็คดูเฉย ๆ ค่ะ


ถาม : แบ่งเวรกันมาดูไหม หรือใครอยากจะมาดูก็มาดู

ตอบ : (นูรีต้า)ใครอยากมาดูก็มาดู


ถาม : แล้วใครมาดูบ่อยที่สุด

ตอบ : (นูรีต้า)ทั้งหมดค่ะ


ถาม : ถ้ามาทีก็จะมากันเป็นกลุ่ม สมมติว่าวันนี้หนูนาอยากดู หนูนาชวนเพื่อน ๆ มาดูด้วยกันใช่ไหม

ตอบ : (หนูนา) ค่ะ


ถาม : ตอนที่มาดู ตอนที่เราเห็นว่ามันเริ่มออกปุ่มแล้ว รู้สึกตื่นเต้นดีใจไหม ว่านี่เป็นผลผลิตของเราที่เรานั่งทำนั่งทุบกัน

ตอบ : (หนูนา)ดีใจค่ะ


ถาม : แล้วระหว่างนี้เราหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการแปรรูปไหม หรือว่าอย่างไร

ตอบ : (หนูนา)หาค่ะ


ถาม : ก็คือหาข้อมูลไปด้วยเหรอ ระหว่างเห็ดให้ผลผลิต ตอนที่เราหาข้อมูลการแปรรูปเห็ด เราหาจากคนในชุมชน หรือจากอินเทอร์เน็ต

ตอบ : (หนูนา) อินเทอร์เน็ตด้วย คนในชุมชนด้วย


ถาม : คนในชุมชนนี่เราหาจากไหน เราเลือกจากใคร มีกี่พื้นที่กี่บ้านที่เราลงไปถาม

ตอบ : (หนูนา) ก๊ะเนตรบอกมาค่ะ


ถาม : ก๊ะเนตรคือใคร

ตอบ : (นูรีต้า)คนที่ชมรมค่ะ


ถาม : เขาบอกว่าอย่างไรบ้าง

ตอบ : (นูรีต้า)เขามาสอนวิธีการทำแหนมค่ะ


ถาม : ก๊ะเนตรมาสอนเองเลย สอนการทำแหนมเห็ดใช่ไหม แล้วที่เราบอกว่าเราหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เราหาวิธีการทำแหนมไหม หรือหาอย่างอื่น

ตอบ : (นูรีต้า)ก็หาการทำแหนมด้วยค่ะ


ถาม : หาการทำแหนม เราหาอะไรอีกไหม

ตอบ : (นูรีต้า)หาหลายอย่างค่ะ


ถาม : เช่น เห็ดมันทำอะไรได้บ้าง ตอนที่เราหา

ตอบ : (นูรีต้า) เอาไปต้มยำค่ะ


ถาม : คือเอาไปแปรรูปเป็นอาหาร แล้วก็ดูว่าเห็ดมันเอาไปทำอะไรได้บ้าง

ตอบ : (หนูนา) ค่ะ


ถาม : ตอนที่เราบอกว่าก๊ะเนตรมาสอน คือก๊ะเนตรเข้ามาบอกว่า ก๊ะสอนให้ หรือว่าเราเป็นคนไปขอความร่วมมือจากก๊ะ

ตอบ : (นูรีต้า) ก๊ะเนตรเข้ามาสอนให้ค่ะ


ถาม : ตอนนั้นเรารู้สึกอย่างไร ดีใจไหม มีคนมาสอนให้แล้ว

ตอบ : (ซานิตา) ดีใจค่ะ


ถาม : ก่อนหน้านี้เครียดไหม ใครจะมาสอน หรือว่าไม่

ตอบ : เครียดค่ะ


ถาม : ที่ว่าเครียดนี่คือเครียดเรื่องอะไร

ตอบ : (นูรีต้า) ทำไม่เป็นค่ะ


ถาม : เราวางแผนไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่าเราจะทำแปรรูปเห็ด แล้วเราบอกว่าเราเครียดเพราะเราทำไม่เป็น แล้วได้ก๊ะเนตรก็เลยโล่งใจ

ตอบ : ค่ะ


ถาม : เราลองทำกันก่อนไหม หมายถึงว่าลองทำกันก่อน แปรรูปลองทำกันเองก่อน ทำไม่ได้ก็เลยเครียด หรือว่าอย่างไร

ตอบ : (หนูนา) ยังไม่ลองทำค่ะ


ถาม : ก๊ะเนตรมาสอน เขามาสอนอะไรเราบ้าง

ตอบ : วิธีทำแหนม


ถาม : มันต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง วิธีทำแหนมเห็ด

ตอบ : (หนูนา) ข้าว ยาง กระเทียม พริก ถุง เกลือ เห็ด


ถาม : ลองเล่าวิธีการให้ฟังหน่อยสิ ขั้นตอนไหนยากที่สุดในการทำแหนม

ตอบ : (หนูนา) ผูกถุงให้มันแน่นค่ะ


ถาม : ถ้าผูกไม่แน่นแล้วมันจะเป็นอย่างไร

ตอบ : (ซูนิตา) มันจะไม่สวยค่ะ


ถาม : ถ้าอากาศมันเข้าไปจะเสียไหม

ตอบ : (ซูนิตา) ไม่ค่ะ แต่มันไม่สวย


ถาม : ต้องผูกให้มันสวย ๆ ใช่ไหม ยากไหมตอนผูก

ตอบ : (นูรีต้า) ยากค่ะ เจ็บมือหมดเลยค่ะ


ถาม : ตอนทำเราทำกันเองห้าคนเหมือนเดิมไหม หรือว่าชวนคนในชุมชนมาทำไหม

ตอบ : (นูรีต้า) เหมือนเดิมค่ะ


ถาม : คราวนี้ทำกันกี่ลูก แหนมเห็ด เยอะไหม

ตอบ : (นูรีต้า) เขาคิดเป็นกิโลกรัมค่ะ


ถาม : ตอนนั้นทำกี่กิโลกรัม

ตอบ : (นูรีต้า) รอบแรกพวกหนูทำห้ากิโลกรัมค่ะ


ถาม : ทำกันกี่รอบ

ตอบ : (นูรีต้า) หลายรอบค่ะ


ถาม : ประมาณกี่รอบ

ตอบ : (นูรีต้า) สี่ถึงห้ารอบเลย


ถาม : ทำไมถึงทำเยอะ

ตอบ : (นูรีต้า) ทำให้พวกพี่ ๆ ที่มาจากชมรมมากินด้วยค่ะ


ถาม : รอบแรกห้ากิโลกรัม แล้วรอบต่อ ๆ ไปเพิ่มขึ้นไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ห้ากิโลกรัมเหมือนเดิมค่ะ


ถาม : ก็ทำทีละห้ากิโลกรัมใช่ไหมคะ ถ้าให้เทียบตอนทำครั้งแรก กับตอนที่ทำครั้งที่สี่ครั้งที่ห้า ชำนาญขึ้นไหม หรือว่าเหมือนเดิม

ตอบ : เหมือนเดิมค่ะ


ถาม : รอบแรกก็คือก๊ะเนตรมาสอน แล้วรอบที่สองถึงรอบที่ห้าเราทำกันเอง หรือว่าก๊ะยังมาสอนอยู่

ตอบ : ทำกันเองค่ะ


ถาม : รอบแรกตอนที่ก๊ะมาสอน เราจดไหม อันนี้อัตราส่วนเท่านี้

ตอบ : (หนูนา) จดค่ะ


ถาม : ใครเป็นคนจด

ตอบ : (หนูนา) ช่วย ๆ กันค่ะ


ถาม : ตอนที่เราทำครั้งแรกเลย มันใช้เวลานานไหม กว่าจะกินแหนมได้

ตอบ : (หนูนา) นานค่ะ


ถาม : ประมาณกี่วัน

ตอบ : (นูรีต้า) สามถึงสี่วัน ถึงจะกินแหนมเห็ดได้


ถาม : เราได้ลองชิมฝีมือผลงานของตัวเองไหม

ตอบ : ชิมค่ะ


ถาม : เป็นอย่างไรบ้าง รสชาติ

ตอบ : (นูรีต้า) แต่พวกหนูกินไม่ได้ค่ะ มันมีกลิ่นกระเทียมเยอะค่ะ


ถาม : มันเป็นสูตรที่ต้องใส่กระเทียมเยอะ หรือว่าตอนนั้นเราใส่กระเทียมเยอะเกินไป

ตอบ : (นูรีต้า) เป็นสูตรค่ะ


ถาม : คนอื่นที่เขากินเขาชิมเขาว่าอย่างไรบ้าง ผลตอบรับ

ตอบ : (นูรีต้า) อร่อยค่ะ


ถาม : ตอนที่เขาบอกว่าอร่อย เราภูมิใจไหม ฝีมือของฉันนะ

ตอบ : ใจค่ะ


ถาม : แอบยิ้มไหม

ตอบ : ยิ้มค่ะ


ถาม : ส่วนใหญ่ที่ทำ คือเราทำให้คนอื่นชิมฟรี ๆ หรือเราทำแล้วเอาไปขายด้วย เอาไปขายไหม

ตอบ : (หนูนา) มีค่ะ


ถาม : เอาไปขายตอนนั้น รอบที่สี่รอบที่ห้า หรือรอบอื่น ๆ

ตอบ : (นูรีต้า) รอบสุดท้ายค่ะ


ถาม : เรามาตกลงกันว่าเอาไปขายกันดีกว่าไหม หรืออยู่ในกำหนดกิจกรรมที่เราวางแผนไว้แล้ว ว่าเราจะทำขาย

ตอบ : (นูรีต้า) ในกำหนดกิจกรรมค่ะ


ถาม : มั่นใจฝีมือตัวเองไหม ว่ามันจะขายได้

ตอบ : (นูรีต้า) มั่นใจค่ะ


ถาม : ตอนเอาไปขาย เอาไปขายที่ไหน

ตอบ : (นูรีต้า) วันนั้นเขาจัดงานที่บ่อน้ำร้อน ก็เอาไปขายค่ะ


ถาม : มันเป็นงานอะไร

ตอบ : (นูรีต้า) งานกิจกรรมในโรงเรียน


ถาม : เราก็เลยไปขาย เราเป็นคนจัดการเอง หรือว่าพี่เลี้ยงมาบอกว่ามีกิจกรรมนี้นะ ลองเอาไปขาย

ตอบ : (นูรีต้า) พี่เลี้ยงบอกค่ะ


ถาม : ตอนที่เราไปขายต้องเตรียมไหม ว่าจะเอาไปขายอย่างไร จำนวนเท่าไร ลองเล่าให้ฟังหน่อยสิตอนที่จะเตรียมเอาไปขาย

ตอบ : (หนูนา) ต้องเตรียมว่ามันเหมาะกับราคาเท่าไร


ถาม : แล้วเราขายราคาเท่าไร

ตอบ : (หนูนา) ถ้าเป็นกิโลกรัมก็ประมาณสามร้อยบาท แต่ถ้าเป็นลูกก็สามลูกสิบบาทค่ะ


ถาม : อันนี้คือเห็ดที่ยังไม่ได้แปรรูปใช่ไหม

ตอบ : (หนูนา) ตอนนั้นแปรรูปแล้ว


ถาม : เอาแหนมเห็ดไปขาย ถ้าเป็นกิโลกรัมขายสามร้อยบาท แต่ถ้าเป็นลูกขายสามลูกสิบบาท เราเตรียมไปกี่ลูกที่ไปขายวันงาน

ตอบ : (นูรีต้า) เป็นกิโลกรัมค่ะ


ถาม : เอาไปขายกี่กิโลกรัม

ตอบ : (นูรีต้า) สองถึงสามกิโลกรัม


ถาม : ก่อนวันงานพวกเราก็มานั่งมัดแหนมกันใช่ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : เป็นอย่างไรบ้าง เพื่อนห้าคนเหมือนเดิม มาช่วยกันมัดแหนม ก่อนวันงานกี่วัน อาทิตย์หนึ่งไหม หรือสี่ห้าวัน

ตอบ : สี่ห้าวันค่ะ


ถาม : เราไปหาข้อมูลจากไหน กิโลกรัมละสามร้อยบาท สามลูกสิบบาท

ตอบ : (นูรีต้า) บังเชษฐ์บอกมา


ถาม : ตอนไปขายแบ่งหน้าที่กันไหม สามคนใครเป็นคนเชิญชวน ใครเป็นคนเก็บเงิน ใครเป็นคนขาย

ตอบ : (นูรีต้า)แบ่งค่ะ


ถาม : นูรีต้าทำอะไรในวันงาน

ตอบ : (นูรีต้า) หนูนั่งขายของค่ะ


ถาม : ซานิตาทำไรคะ

ตอบ : (ซานิตา) นั่งเฝ้าร้าน


ถาม : เฝ้าร้านเฉย ๆ เลยใช่ไหม เชิญชวนด้วยไหม แหนมเห็ดค่ะ

ตอบ : (ซานิตา) เชิญชวนด้วย


ถาม : หนูนาล่ะ

ตอบ : (หนูนา)เก็บเงินค่ะ


ถาม : เก็บเงินอย่างเดียวเลย เชิญชวนด้วยไหม

ตอบ : (หนูนา)เชิญชวนค่ะ


ถาม : ตอนไปขายก็ไปขายกันห้าคนเหมือนเดิมไหม

ตอบ : (หนูนา) ไปกันสี่คน


ถาม : เวลาเราไปขายเป็นแม่ค้า เราเขินไหม อายไหม

ตอบ : (หนูนา) เขินค่ะ


ถาม : เวลาที่ลูกค้ามาถาม เรากล้าตอบไหม

ตอบ : กล้าค่ะ


ถาม : เขาถามอะไร

ตอบ : (หนูนา) ขายอย่างไร


ถาม : วันนั้นขายหมดไหม

ตอบ : (นูรีต้า) หมดค่ะ


ถาม : นานไหมกว่าจะหมด

ตอบ : (หนูนา) สองวัน


ถาม : มีงานสองวัน สองสามกิโลกรัมขายสองวันใช่ไหม

ตอบ : (หนูนา) ค่ะ เพราะว่าเขายังไม่ค่อยรู้จักแหนมเห็ดเท่าไร


ถาม : เราคิดไหมตอนนั้น ว่าจะขายหมด หรือว่าตอนนั้นก็หวั่น ๆ ว่าจะขายหมดไหม

ตอบ : (หนูนา) แอบหวั่น ๆ อยู่ว่าจะขายหมดไหม


ถาม : พอขายเสร็จ เอามาคุยกันไหม เราขายได้ น่าจะทำขายต่อนะ มีเอามาคุยกันไหม

ตอบ : (นูรีต้า) มีค่ะ ตอนนั้น แต่หลัง ๆ ก็ไม่มีใครช่วยแล้ว พอดีเห็ดหมดด้วย


ถาม : แต่ที่เราเอาไปขายสองสามกิโลกรัม มันก็คือเห็ดสามร้อยก้อนที่เราทำกันใช่ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : เป็นเห็ดชุดเดียวกับที่เรานั่งทำสามร้อยก้อนใช่ไหม

ตอบ : ค่ะ


ถาม : ถือว่าทำได้เยอะเลยนะ ตอนที่ไปขายเราเป็นคนไปติดต่อขอพื้นที่ขายเอง หรือว่าพี่เลี้ยงจัดการให้ แล้วเราไปขายอย่างเดียว

ตอบ : (นูรีต้า) พี่เลี้ยงค่ะ


ถาม : ออกแบบร้านไหม มีโลโก้ มีเขียนตัวหนังสือ

ตอบ : (นูรีต้า) ก็คิดอยู่ค่ะ แต่ว่ายังไม่ได้ทำ


ถาม : หน้าร้านเป็นแบบไหน มีโต๊ะธรรมดาเฉย ๆ

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ มีโต๊ะตั้งเฉย ๆ


ถาม : หลังจากนี้จบกิจกรรมแล้ว หรือว่าเรายังทำกิจกรรมอะไรต่อไหม

ตอบ : (นูรีต้า) หมดกิจกรรมแล้วค่ะ


ถาม : อยากรู้ว่าตอนที่เราขายของ มันมีปัญหาอะไรไหม ที่เรารู้สึกว่าเป็นปัญหา

ตอบ : (หนูนา) ทั้งแดดทั้งฝน


ถาม : ตอนเช้ามีแดด ตอนเย็นมีฝนเหรอ

ตอบ : (หนูนา) ค่ะ


ถาม : ทำไม แล้วมันเป็นปัญหาอะไรสำหรับเราที่เราคิดว่ามันคือปัญหา

ตอบ : (นูรีต้า) มันไม่มีหลังคาค่ะ


ถาม : มันเป็นโล่ง ๆ เลยใช่ไหม

ตอบ : (หนูนา) ค่ะต้องคอยยกหลบ


ถาม : มีอย่างอื่นไหม ที่เป็นปัญหา เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือดี

ตอบ : (นูรีต้า) สนุกค่ะ


ถาม : ตอนนั้นได้กี่บาท จำได้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) หนึ่งพันบาทค่ะ


ถาม : ดีใจไหม ได้เงินขายเห็ด

ตอบ : (หนูนา) ก็ดีใจค่ะ


ถาม : ให้ผู้ปกครองไปช่วยอุดหนุนไหม

ตอบ : (หนูนา) มีค่ะ บังคับค่ะ


ถาม : วันงานพ่อแม่เราเห็นไหม ว่าเราไปขายของ

ตอบ : เห็นค่ะ


ถาม : เขาเป็นอย่างไรกันบ้าง ดีใจไหม

ตอบ : (หนูนา) ยิ้มค่ะ


ถาม : อุดหนุนไหม หรือยิ้มอย่างเดียว

ตอบ : (นูรีต้า) อุดหนุนด้วยค่ะ


ถาม : แสดงว่าเวลาเราทำกิจกรรมเขาก็รู้ใช่ไหม ว่าเรามาทำกิจกรรมอันนี้ สนับสนุนไหม

ตอบ : (นูรีต้า) สนับสนุนค่ะ


ถาม : เวลามีปัญหาตอนทำโครงการ ปรึกษาที่บ้านไหม

ตอบ : ปรึกษาค่ะ


ถาม : ส่วนใหญ่ปรึกษาเรื่องอะไร

ตอบ : (นูรีต้า) ไม่มีรถค่ะ เวลานัดกันอะไรแบบนี้


ถาม : แล้วทำอย่างไร แม่มาส่งให้เหรอ

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : หลังจากขายของมีทำอะไรต่อไหม ไม่มีแล้วใช่ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) เริ่มหมดแล้ว


ถาม : แล้วเราคิดไหม ว่าอยากทำก้อนเห็ดเพิ่มเพื่อทำแหนมขาย

ตอบ : (หนูนา) ตอนนั้นยังไม่คิดค่ะ


ถาม : แสดงว่าตอนนี้เริ่มคิด

ตอบ : (หนูนา) ค่ะ


ถาม : ตอนนี้เริ่มคิดว่าอยากจะทำแหนมเห็ดขายอีกแบบนี้เหรอ

ตอบ : ค่ะ


ถาม : อยากมีรายได้ใช่ไหม

ตอบ : (หนูนา) ใช่ค่ะ


ถาม : เป็นกิจกรรมในอนาคตที่จะทำเร็ว ๆ นี้หรือเปล่า

ตอบ : (นูรีต้า) น่าจะเร็ว ๆ นี้ค่ะ


ถาม : กิจกรรมที่เราทำมา มีตั้งแต่สำรวจข้อมูล ลงพื้นที่ ลองลงมือทำด้วยตัวเอง ทำเห็ดแปรรูปแล้วเอาไปขาย ทีนี้พี่อยากรู้ว่าถ้าถามขั้นตอนทั้งหมดที่พูดมา สามคนนี้ กิจกรรมที่เราประทับใจมากที่สุดของแต่ละคน ชอบอะไรกันบ้าง

ตอบ : (นูรีต้า) แปรรูปเห็ดค่ะ


ถาม : นูรีตาชอบตอนแปรรูปเห็ด ซานิตาชอบอะไรนะ

ตอบ : (ซานิตา) ลงพื้นที่ค่ะ


ถาม : หนูนา

ตอบ : (หนูนา)ชอบตอนขายของ


ถาม : ทำไมนูรีต้าถึงชอบตอนแปรรูป

ตอบ : (นูรีต้า) มันสนุกดีค่ะ


ถาม : ตรงไหนที่เรารู้สึกว่าสนุกที่สุดเลย

ตอบ : (นูรีต้า) ตอนที่ฉีกเห็ด ต้มเห็ด


ถาม : รู้สึกว่ามันสนุก เพราะอะไร

ตอบ : (นูรีต้า) รู้สึกว่ามันง่ายดี


ถาม : ที่เหลือมันยากหมดเลยใช่ไหม โดยเฉพาะตอนมัด

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : ตอนที่เราฉีกเห็ดต้มเห็ด อุปกรณ์พวกวัสดุอะไรมีครบใช่ไหม ตอนที่เราทำแหนม

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : ต้องฉีกเห็ดให้มันเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช่ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : เราเลยรู้สึกว่าประทับใจตรงนี้ เพราะมันง่ายสุดในการทำแปรรูป

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : อย่างซานิตาชอบตอนลงพื้นที่ ทำไมหนูถึงชอบตอนลงพื้นที่

ตอบ : (ซานิตา) ได้ไปหาคนมาก ๆ


ถาม : จริง ๆ เราเป็นคนชอบคุยเหรอ ชอบคุยแบบที่ไม่ต้องจับไมค์ใช่ไหม

ตอบ : (ซานิตา) ค่ะ


ถาม : ชอบตอนลงพื้นที่ อย่างตอนลงพื้นที่เรารู้สึกว่าเราประทับใจอะไรที่สุดในการลงพื้นที่

ตอบ : (ซานิตา) ตอนไปถามเขา


ถาม : เขาก็ให้ข้อมูลกลับมาใช่ไหม

ตอบ : (ซานิตา) ค่ะ


ถาม : แล้วอะไรยากสุดสำหรับเรา ตอนลงพื้นที่

ตอบ : (ซานิตา) การเดินทาง


ถาม : มันไกลเหรอ แต่ละหมู่บ้าน

ตอบ : (ซานิตา) มันไม่ไกล แต่ว่ารถมันไม่พอกับจำนวนคน


ถาม : เราแก้ไขอย่างไร

ตอบ : (ซานิตา) ไปขอป๊ะกับม๊ะมาค่ะ เพื่อลงพื้นที่


ถาม : แต่เขาก็ให้ใช่ไหม

ตอบ : (ซานิตา) ให้ค่ะ


ถาม : ก็ผ่านไปได้ด้วยดี อย่างหนูนาชอบตอนขายของ ทำไมถึงชอบตอนขายของ

ตอบ : (หนูนา) มันสนุกค่ะ


ถาม : สนุกตรงไหน ที่คิดว่าเราสนุกที่สุด ตอนที่ได้จับเงินใช่ไหม หรือสนุกตรงที่ได้ขายของ ได้คุยกับคน ชอบตอนไหน

ตอบ : (หนูนา) ตอนที่ได้คุยกับคน


ถาม : ลูกค้ามีถามเยอะไหม

ตอบ : (หนูนา) มีค่ะ


ถาม : แต่เราก็ตอบได้

ตอบ : (หนูนา) ตอบได้ค่ะ


ถาม : ทั้งสามคนคิดว่าทำโครงการนี้เสร็จแล้ว ถามตัวเองก่อนนะ คิดว่ามันเกิดประโยชน์อะไรกับตัวเองบ้าง

ตอบ : (ซานิตา)ได้ความรู้ค่ะ


ถาม : เรื่องอะไร ที่คิดว่าเป็นความรู้สำหรับเรามากที่สุดเลย

ตอบ : : (ซานิตา)เกี่ยวกับการแปรรูปเห็ด และการทำก้อนเห็ด


ถาม : จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน ตอนนี้ถ้าถามก็ตอบได้ใช่ไหม

ตอบ : : (ซานิตา) ค่ะ


ถาม : ซานิตาเหมือนกันไหม หรือมีความรู้อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับเราหลังจากทำ

ตอบ : (ซานิตา) เหมือนกันค่ะ


ถาม : เอาที่ไม่เหมือนกันสักหนึ่งอย่าง ที่คิดว่าเกิดผลกับเรา กล้าแสดงออกมากขึ้นไหม

ตอบ : (ซานิตา) กล้าแสดงออกมากขึ้น


ถาม : ก่อนหน้าเป็นอย่างไร

ตอบ : (ซานิตา) กลัวไมค์ ไม่กล้าคุยกับใคร อยู่แต่ที่บ้าน ไม่ชอบไปไหน


ถาม : พอมาทำโครงการนี้เป็นอย่างไร เราออกจากบ้านมากขึ้นไหม

ตอบ : (ซานิตา) ทุกวันค่ะ


ถาม : หนูนาล่ะ ทำโครงการนี้แล้วคิดว่ามันเกิดผลอะไรกับตัวเองบ้าง เราได้อะไรบ้างจากการทำโครงการนี้

ตอบ : (หนูนา) ได้ความรู้ในเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน


ถาม : เช่น อะไรบ้าง

ตอบ : (หนูนา) การทำแหนม


ถาม : เราคิดว่าเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันเราได้ไหม เอาไปเล่าให้พ่อแม่ฟังไหม

ตอบ : (หนูนา) เล่าค่ะ


ถาม : บอกให้แม่ลองทำไหม เพราะที่บ้านเราก็เพาะเห็ดอยู่แล้ว

ตอบ : (หนูนา) บอกค่ะ


ถาม : แม่สนใจไหม

ตอบ : (หนูนา) สนใจค่ะ ทำตามค่ะ


ถาม : แม่ทำกินหรือเอาไปทำขาย

ตอบ : (หนูนา) ทำกินค่ะ


ถาม : แล้วเราคิดว่า อันนี้สำหรับตัวเราที่เราคิดว่าเราได้จากโครงการนี้ ถ้าถามตัวชุมชนล่ะ เราคิดว่าชุมชนได้อะไรจากที่เราทำโครงการนี้ไหม ได้ก็คือได้ ไม่ได้ก็คือไม่ได้

ตอบ : (หนูนา) ไม่ได้


ถาม : ตอนที่เรานั่งทำแหนมเห็ดกัน คนในชุมชนเขาเห็นไหมว่าเรานั่งทำ

ตอบ : (นูรีต้า) เห็นค่ะ แต่ไม่สนใจ


ถาม : มีมาถามไหมว่าทำอะไรกัน

ตอบ : (นูรีต้า) มีบ้างบางคนค่ะ


ถาม : มาช่วยทำไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ไม่ค่ะ


ถาม : ส่วนใหญ่จะเป็นเรา เขาแค่มาดูเฉย ๆ ใช่ไหม ว่าทำอะไรกัน แค่นั้น เรารู้สึกอยากให้ชุมชนมาให้ความร่วมมือกับเราไหม หรือไม่เป็นไร เราทำกันเอง

ตอบ : (นูรีต้า) ก็อยากให้ชุมชนมาค่ะ


ถาม : สมมติว่าเราอยากให้ชุมชนเขามา เราอยากให้เขามาทำอะไรกับเราบ้าง ถ้าเป็นไปได้ ที่เราบอกว่าอยากให้ชุมชนเข้ามาช่วยเราบ้างใช่ไหม พี่ก็เลยถามว่าอยากให้เขามาช่วยเราเรื่องอะไร

ตอบ : (นูรีต้า) เรื่องการโฆษณาแหนมค่ะ


ถาม : ให้คนในชุมชนช่วยโฆษณาแหนมของเราให้บ้าง บอกว่าที่นี่กลุ่มนี้เขาทำแหนม แบบนี้ใช่ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : เราไม่ทำเพจในเฟซบุ๊กล่ะ

ตอบ : (นูรีต้า) ทำแล้วค่ะ


ถาม : นอกจากให้เขาช่วยประชาสัมพันธ์เรื่องแหนม อยากให้เขาเข้ามาช่วยอะไรอีกไหมในชุมชน

ตอบ : (นูรีต้า) ไม่ค่ะ


ถาม : อย่างมากก็ช่วยโฆษณาแหนมให้หน่อยเถอะ จะได้มีคนมาซื้อแหนมของเรา ให้เขามาอุดหนุนได้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ได้ค่ะ


ถาม : ยินดีใช่ไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : ที่เราทำโครงการนี้มีใครเข้ามาช่วยมาสนับสนุนเราไหม หรือว่าเราทำกันเองเสียส่วนใหญ่

ตอบ : (นูรีต้า) ทำกันเองค่ะ


ถาม : รู้สึกท้อไหม ทำกันเองสี่ห้าคน

ตอบ : (นูรีต้า) ท้อเหมือนกันค่ะ ก็มีบ้างค่ะ


ถาม : เรื่องอะไรที่ทำให้เราท้อใจมากที่สุด

ตอบ : (นูรีต้า) การนำเสนองาน


ถาม : มันเป็นอย่างไร เพราะว่าเราอายเราเขินเหรอ

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : ถ้าเราเขินเราอายตอนนำเสนองาน แต่มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรามีวิธีการจัดการความอายความกลัวเราอย่างไรบ้าง

ตอบ : (นูรีต้า) ให้เพื่อนยืนรอบค่ะ คนพูดต้องอยู่ตรงกลาง แล้วก็ให้เพื่อนถือไมค์ให้ค่ะ


ถาม : นี่คือวิธีการแก้ไขของเราใช่ไหม ใครเป็นคนคิดสูตรนี้ขึ้นมา

ตอบ : (นูรีต้า) หนูค่ะ


ถาม : ถ้านำเสนอจะมีสมาชิกทั้งหมดห้าคน ทุกคนต้องยืนด้วยกัน ถ้าใครนำเสนอต้องมายืนตรงกลาง แล้วให้เพื่อนอีกคนถือไมค์ให้ด้วย แล้วมันได้ผลไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ได้ผลค่ะ


ถาม : นี่คือวิธีการแก้ปัญหาของเรา น่ารักดี โอเค ให้เราลองคิดสิว่ามีอะไรในตัวเองที่เรารู้สึกว่าตัวเราเปลี่ยนแปลงไป อาจจะเป็นเรื่องของความรู้ หรือเป็นเรื่องการกล้าแสดงออก

ตอบ : (นูรีต้า) การตรงต่อเวลาค่ะ


ถาม : นูรีต้าเป็นเรื่องการตรงต่อเวลา ที่เรารู้สึกว่าเราได้ เราเปลี่ยนไป ทำไมเราถึงคิดว่าเรื่องการตรงต่อเวลาสำหรับเราเปลี่ยนไป ก่อนหน้านี้เราเป็นอย่างไร

ตอบ : (นูรีต้า) ก่อนหน้านี้เวลานัดทำอะไร หนูจะทำช้ากว่าเพื่อน พอมาทำโครงการนี้ หนูจะมาตรงต่อเวลาเลย ไม่อยากให้คนอื่นรอค่ะ


ถาม : ช่วงแรก ๆ เราก็มาตรงต่อเวลาไหม หรือว่ายังไม่

ตอบ : (นูรีต้า) ยังไม่มาตรงต่อเวลาค่ะ


ถาม : แล้วอะไรที่ทำให้เรารู้สึกว่า ไม่ได้แล้ว เราต้องมาตรงต่อเวลานะ มันมีเหตุการณ์อะไรไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ไม่ค่ะ


ถาม : แค่อยู่ดี ๆ ก็คิดว่าไม่ได้แล้ว ต้องมาตรงต่อเวลา

ตอบ : (นูรีต้า) ค่ะ


ถาม : คนอื่นทำกิจกรรมมา รู้สึกไหมว่ามีอะไรที่ตัวเองเปลี่ยนไปบ้าง หนูนา

ตอบ : (หนูนา) การพูดค่ะ


ถาม : ก่อนหน้านี้การพูดของหนูนาเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ : (หนูนา) ไม่กล้าพูดกับคนอื่นเลยค่ะ


ถาม : ปกติเราไม่พูดกับคนแปลกหน้าอยู่แล้วใช่ไหม

ตอบ : (หนูนา) ค่ะ


ถาม : แล้วพอมาตอนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ : (หนูนา) พูดมากค่ะ


ถาม : พูดกับทุกคนเลยใช่ไหม

ตอบ : (หนูนา) ค่ะ


ถาม : เราคิดว่าการพูดของเราที่เรากล้าพูดกับคนอื่นมากขึ้น มันส่งผลกับตัวเองไหม

ตอบ : (หนูนา) ส่งผลค่ะ


ถาม : เป็นอย่างไรบ้าง ที่เราคิดว่าเราได้จากการเป็นคนที่พูดเยอะขึ้น

ตอบ : (หนูนา) เราได้รู้ข่าวสารเยอะขึ้น


ถาม : ข่าวสารจากไหน

ตอบ : (หนูนา) จากผู้อื่น


ถาม : ถ้าเราไปเจอคนในชุมชน เราพูดเยอะขึ้นไหม

ตอบ : (หนูนา) เยอะขึ้นค่ะ


ถาม : กล้าถาม กล้าพูด เวลานำเสนอกล้าพูดเยอะขึ้นไหม

ตอบ : (หนูนา) นิดหนึ่งค่ะ


ถาม : อย่างเรื่องการกล้าพูด เราเอาไปใช้ในชั้นเรียนของเราไหม ในชีวิตประจำวัน

ตอบ : (หนูนา) เอาไปใช้ค่ะ


ถาม : ยกตัวอย่างให้ฟังหน่อย ว่าเอาไปใช้อย่างไร

ตอบ : (หนูนา) หนูได้เอาไปใช้นำเสนองานในห้องเรียน จากเมื่อก่อนอยู่ข้างหลังเพื่อน ตอนนี้กล้าพูดเอง


ถาม : อย่างซานิตาคิดว่าทำโครงการมาทั้งหมด อะไรสำหรับเราที่เรารู้สึกเปลี่ยนแปลงไปมากที่สุด

ตอบ : (ซานิตา) การกล้าแสดงออก


ถาม : กล้าแสดงออกในด้านไหน ที่ต้ารู้สึกว่าต้าเปลี่ยนไป

ตอบ : (ซานิตา) การพูด การจับไมค์


ถาม : ถ้าเทียบก่อนหน้านี้เราเป็นอย่างไร

ตอบ : (ซานิตา) ไม่กล้าเลย


ถาม : แต่ตอนนี้จับไมค์ได้ ไม่กลัว เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้างไหม ในชั้นเรียนเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ : (ซานิตา) เอาไปใช้อยู่เหมือนกัน


ถาม : เวลานำเสนองาน เรากล้าพูด กล้าจับไมค์ขึ้น

ตอบ : (ซานิตา) ค่ะ


ถาม : คุณครูแปลกใจไหม ว่าทำไมถึงกล้า

ตอบ : (ซานิตา) แปลกใจค่ะ


ถาม : มีอะไรบ้างไหม ที่เรารู้สึกว่าก่อนหน้านี้เราไม่เคยทำมาก่อนเลย แล้วได้มาทำในโครงการนี้

ตอบ : (ซานิตา) หนูได้เรียนรู้เรื่องการสำรวจแล้วก็การแยกข้อมูลวิธีการเพาะเห็ด เพื่อเวลาไปนำเสนองานจะได้เข้าใจง่ายขึ้น


ถาม : เราเข้าใจมันใช่ไหม ลองเล่าให้พี่ฟังหน่อยได้ไหม แต่ละอาร์มันคืออะไร

ตอบ : (ซานิตา) อาร์หนึ่งเป็นการสำรวจ อาร์สองเป็นการเริ่มลงมือทำ อาร์สามเริ่มทำค่ะ


ถาม : ใครเป็นคนบอกเรื่องอาร์

ตอบ : (ซานิตา) บังเชษฐ์ค่ะ


ถาม : ช่วยเราได้เยอะไหม

ตอบ : (ซานิตา) เยอะค่ะ


ถาม : ที่คิดว่าช่วยได้เยอะที่สุดเลย คือเรื่องอะไร

ตอบ : การช่วยกัน


ถาม : อันนี้คือเป็นสิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อน แล้วได้มาทำในโครงการนี้เนอะ มันเอาไปใช้ในชั้นเรียนได้ไหม

ตอบ : (ซานิตา) ได้ค่ะ


ถาม : ได้ลองเอาไปใช้กันหรือยัง

ตอบ : (ซานิตา) เอาไปแล้วบ้าง เวลาจะนำเสนองาน


ถาม : เวลาเรานำเสนองาน ก็เอาข้อมูลอาร์หนึ่งอาร์สองมาจัดเรียงแล้วนำเสนอ มันจะเป็นขั้นตอนใช่ไหม

ตอบ : (ซานิตา) ค่ะ


ถาม : เมื่อกี้ที่ถามเรื่องการต่อยอด จริง ๆ เราก็อยากจะเพาะเห็ดเพิ่มอยู่เหมือนกันใช่ไหม

ตอบ : (นูรีต้า)ค่ะ


ถาม : พูดคุยกันหรือยัง ประชุมกันหรือยัง

ตอบ : ยังค่ะ


ถาม : แต่สามคนนี้ก็คิดเหมือนกันว่าอยากจะทำต่อใช่ไหม

ตอบ : ค่ะ


ถาม : อันนี้ถามเรื่องความประทับใจของโครงการ Active Citizen ถ้าเราไม่ได้มาทำโครงการนี้ เราคิดว่าเราจะเป็นอย่างไรกันบ้าง

ตอบ : ก็ไม่กล้าแสดงออก เรียงข้อมูลไม่ถูกค่ะ


ถาม : รู้สึกดีใจไหมที่ได้มาทำโครงการนี้

ตอบ : ดีใจค่ะ


ถาม : ให้ทำต่อทำไหม

ตอบ : คิดก่อนค่ะ


ถาม : ทำไมถึงคิดก่อน ติดเรื่องอะไร

ตอบ : มันตรงกับเปิดเทอมพอดีค่ะ


ถาม : ถ้าตรงกับปิดเทอมพอดี แล้วเขาให้เราทำโครงการ สมมติว่าให้ทำ เราอยากจะทำเรื่องเพาะเห็ดไหม หรือว่าอยากทำโครงการอื่น

ตอบ : อยากทำโครงการอื่นอีก


ถาม : เพราะอะไร อยากทำอะไรใหม่ ๆ ใช่ไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ


ถาม : ช่วงแรก ๆ ก่อนหนูเลือกทำโครงการเห็ด พวกบังมักจะถามเวลาทำโครงการ ว่าชุมชนเรามีปัญหาอะไร ถึงเลือกทำโครงการนี้ พี่ก็เลยอยากถามน้องว่า ที่ทำโครงการเห็ดมันช่วยแก้ปัญหาอะไรในชุมชนเรา หรือว่าแค่เราอยากทำเฉย ๆ

ตอบ : อยากทำค่ะ


ถาม : แต่ก็ยังไม่ได้ศึกษาชุมชนใช่ไหม ว่าตอนนี้ชุมชนมีปัญหาอะไรบ้าง แค่อยากมีกิจกรรมที่มาทำด้วยกัน

ตอบ : ค่ะ


ถาม : แล้วปกติเราได้ทำกิจกรรมอะไรพวกนี้บ้างไหม

ตอบ : ไม่ค่ะ


ถาม : เหมือนบ้านใครนะ ทำเห็ด

ตอบ : บ้านหนูนาค่ะ


ถาม : แล้วหนูนาเคยเรียนรู้กับที่บ้านไหม ช่วยพ่อแม่ทำบ้างไหม ก่อนหน้านี้

ตอบ : เคยค่ะ


ถาม : แล้วเราได้เอามาบอกเพื่อนบ้างไหม ความรู้เดิมที่เอามาช่วยเพื่อน

ตอบ : (นูรีต้า)การเพาะเห็ดค่ะ


ถาม : ตอนแรกคือปลูกเห็ดเป็นอย่างเดียวใช่ไหม

ตอบ : ค่ะ


ถาม : ตอนนี้ถ้าให้ทั้งสามคนกลับไปเพาะเห็ดเอง ทำแหนมเอง โดยที่ไม่มีคนบอก ทำได้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า)ได้ค่ะ


ถาม : ตอบเป็นเสียงเดียวกัน ทำได้ โอเค หลังจากทำโครงการแล้ว หนูคิดว่าชุมชนได้ประโยชน์อะไรไหม จากโครงการ

ตอบ : (นูรีต้า)ไม่ค่ะ


ถาม : ยังไม่ได้ แล้วพวกหนูได้ประโยชน์อะไรไหม จากโครงการนี้

ตอบ : (นูรีต้า)ได้ค่ะ


ถาม : ตัวทำโครงการเห็ด ตัวทำแหนมเห็ด ช่วยหนูอย่างไรบ้าง

ตอบ : (นูรีต้า)ช่วยเป็นรายได้เสริม


ถาม : ได้เยอะไหม ที่ผ่านมาที่เราทำ ได้กำไรไหม

ตอบ : (นูรีต้า)ได้ค่ะ


ถาม : เราคิดว่าเราสามารถเอาความรู้เรื่องเห็ดไปทำเป็นอาชีพได้ไหม

ตอบ : (นูรีต้า)ได้ค่ะ


ถาม : หนูเอาเวลาช่วงไหนไปทำกิจกรรม อย่างตอนทำหัวเชื้อเห็ด ทำแหนมเห็ด ก็ใช้เวลาหลายวัน

ตอบ : (นูรีต้า)เสาร์อาทิตย์ค่ะ ช่วงนั้นปิดเทอมด้วยค่ะ


ถาม : พี่ถามต่อนิดหนึ่งนะ ตอนนั้นหนูอยากทำโครงการเห็ดแล้วแหละ ทำไมถึงไม่ไปซื้อเชื้อมาเลยทำไมถึงอยากทำเอง

ตอบ : (นูรีต้า)ซื้อเชื้อมาค่ะ


ถาม : ทำไมไม่ซื้อที่สำเร็จมาเลย จะได้ไม่ต้องมาผสม

ตอบ : (นูรีต้า)อยากศึกษาค่ะ


ถาม : คือตัวเราอยากศึกษา หรือมีใครมาบอกว่าลองทำกันไหม ผู้ใหญ่หรือใครมาบอกไหม

ตอบ : (นูรีต้า)พวกหนูคิดเองค่ะ


ถาม : สุดท้ายสูตรที่เราเอาเพาะเชื้อ เป็นสูตรของใคร หรือเป็นสูตรของพี่เลี้ยง

ตอบ : (นูรีต้า)พี่เลี้ยงค่ะ


ถาม : เราเอาสูตรของพี่เลี้ยง เราไม่ได้เอาสูตรของผู้รู้นะ สูตรของผู้รู้สูตรหนึ่งเขาใช้อีเอ็มใช่ไหม แล้วอีกสูตรหนึ่งมีรัม มีดีเกลือ แล้วมีอะไรอีกไหม

ตอบ : ภูไมค์


ถาม : แล้วก็ยิปซัม มีอีกไหม

ตอบ : (นูรีต้า) ปูนขาว อีเอ็ม แล้วก็น้ำ


ถาม : คือสูตรที่มีอีเอ็ม มันต่างจากสูตรที่ใส่พวกรัมกับดีเกลืออย่างไร

ตอบ : (นูรีต้า)มันเป็นสูตรเดียวกันค่ะ แต่บางคนใส่กากน้ำตาลแทนอีเอ็มค่ะ


ถาม : โอเค เข้าใจแล้ว คือการเลือกระหว่างอีเอ็มกับกากน้ำตาล แล้วสูตรของบ้านหนูนาต่างจากของพี่เลี้ยงไหม

ตอบ : (นูรีต้า)เหมือนค่ะ